Scholar Guide : ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อ ประเทศนิวซีแลนด์ เรียนนิวซีแลนด์, ศึกษาต่อนิวซีแลนด์, เรียนต่อนิวซีแลนด์,แนะแนวเรียนต่อนิวซีแลนด์                                                  




jQuery Accordion Style DIV Menu

เอกสารที่นักเรียน - นักศึกษาต้องเตรียมให้ทางศูนย์ฯ เพื่อดำเนินการสมัครเรียน


เรียนระดับมัธยมศึกษา
รูปถ่าย 2" 2 ใบ
ผลการเรียนในชั้นสูงสุดที่จบ (Transcript) เป็นภาษาอังกฤษ
สำเนา Passport หรือสำเนาใบรับ Passport (ผู้ที่เพิ่งทำใหม่)

เรียนภาษาอังกฤษ

รูปถ่าย 2" 2 ใบ
สำเนา Passport หรือสำเนาใบรับ Passport (ผู้ที่เพิ่งทำใหม่)

เรียนระดับอุดมศึกษา

รูปถ่าย 2" 2 ใบ
ผลการเรียนชั้นสูงสุดที่จบ (Transcript) เป็นภาษาอังกฤษ - ผลการเรียนในชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัย ก็ใช้ได้
Resume (ประวัติส่วนตัว) ใช้ในกรณีสมัครปริญญาโทขึ้นไป
Birth Certificate (ใบเกิด) แปลเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ในกรณีที่สมัครปริญญาโทขึ้นไป (บางมหาวิทยาลัยต้องใช้) จดหมายรับรองจากอาจารย์ หรือนายจ้าง อย่างน้อย 2 คน
เขียน Essay สั้น ๆ ประมาณครึ่งหน้ากระดาษให้เหตุผลว่าทำไมจึงอยากเรียนที่สถาบันนั้นๆ

ขั้นตอนการเดินเรื่อง
1. หาข้อมูลการศึกษาในนิวซีแลนด์ เลือกสถานศึกษาและวางแผนการเรียนล่วงหน้า เป็นขั้นเป็นตอนตามลำดับก่อนหลัง
2. จองตั๋วเครื่องบิน (เริ่มจองตั้งแต่ตัดสินใจเลือกสถาบัน และกำหนดเวลาเริ่มเรียน) จะจองเองหรือให้ศูนย์ฯจองให้ก็ได้ ตั๋วเครื่องบินไปนิวซีแลนด์ มักเต็มตลอดปี ต้องรีบจองเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
3. กรอกใบสมัครเรียน (ทางศูนย์ฯ จะกรอกให้) และให้รายละเอียดส่วนตัวเพื่อการจัดหา Homestay
4. สถาบันตอบรับ และส่งรายละเอียดค่าใช้จ่ายมาให้ชำระเงิน

5. ชำระเงินค่าเรียน - ค่าที่พักอาศัย โดยโอนเงินผ่านธนาคารไทยไปยังธนาคารของสถาบันโดยตรง
6. แฟกซ์ หรืออีเมล์ สำเนาการโอนชำระเงินให้ศูนย์ ฯ เพื่อแจ้งสถาบัน
7. สถาบันส่งใบเสร็จรับเงินให้ (ทางแฟกซ์ ทางอีเมล์ หรือทางไปรษณีย์)
8. ศูนย์ส่งเอกสารขอ วีซ่า ให้นักเรียน นักศึกษา ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
9. นักเรียน - นักศึกษา เตรียมเอกสารการขอ วีซ่า ให้ครบและยื่นขอ วีซ่า ที่สถานทูตนิวซีแลนด์ หรือให้ศูนย์เป็นผู้ดำเนินการยื่นขอ วีซ่า ให้ (มีค่าบริการ)
10. ติดต่อชำระค่าตั๋วโดยตรงกับบริษัทขายตั๋ว - ออกตั๋วเครื่องบิน
11. ทางศูนย์ฯ จะนัดกับสถาบันเรื่องการรับที่สนามบิน - หากนักเรียน - นักศึกษาจองตั๋วเองจากที่อื่น ให้แฟกซ์รายละเอียดของ Flight ให้ศูนย์ฯ ทันทีที่ Confirm และไม่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว
12. เตรียมจัดเสื้อผ้า (ศูนย์ฯ มีคำแนะนำในการเตรียมเสื้อผ้าให้)
13. ทำประกันสุขภาพ + อุบัติเหตุ (ศูนย์ฯ มีรายละเอียดและช่วยสมัครให้ เมื่อรู้วันเดินทางที่แน่นอน)

กรณีผู้ปกครองและญาติต้องการเดินทางไปส่งด้วย และต้องการให้จองตั๋วเครื่องบิน และที่พักในนิวซีแลนด์ โปรด Fax สำเนา Passport ทุกคนและกำหนดวันเดินทางไป-กลับ
(ควรเดินทางไปถึงล่วงหน้าก่อนเปิดเรียน 1-2 วันก็พอ ผู้ปกครองควรกลับหลัง ร.ร.เปิด 1-2 วัน)


การชำระเงินค่าเรียน - ค่าที่พัก – ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียน



ค่าเรียน
นักเรียนมัธยม จ่ายเป็นปี (4 เทอม) แต่ถ้าไม่ได้ไปตั้งแต่เทอม 1 สามารถจ่ายเฉพาะจำนวนเทอม ที่เรียนในปีนั้น เช่น 3 เทอม หรือ 2 เทอม

นักเรียนภาษาอังกฤษ จ่ายตามจำนวนสัปดาห์ที่ต้องการเรียน เช่น 12 หรือ 24 สัปดาห์

นักศึกษาระดับอุดมศึกษา จ่ายเป็นปี หรือเป็น Semester (1 ปีมี 2-3 Semester )

ค่าที่พัก

นักเรียนมัธยม จ่ายเป็นปีหรือเป็นเทอม (ประมาณ 12 อาทิตย์ ใน 1 เทอม) ให้กับโรงเรียนเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นักเรียนดูแลเงินส่วนตัวนี้เอง ถ้าอยู่ Homestay จ่ายครั้งละ 12 สัปดาห์ ถ้าอยู่หอโรงเรียนประจำ จ่ายเป็นเทอม

นักเรียนภาษาอังกฤษ จ่ายล่วงหน้า 4 สัปดาห์ก่อนผ่านสถาบันได้ ที่เหลือจ่ายเองโดยตรงกับ Homestay ทุก 1 หรือ 2 สัปดาห์ แล้วแต่ตกลงกัน กรณีไม่แน่ใจว่านักเรียนจะดูแลเงินส่วนนี้ได้ให้ผู้ปกครองจ่ายผ่านสถาบัน 12 หรือ 24 สัปดาห์ล่วงหน้า

นักศึกษาระดับอุดมศึกษา หากอยู่ Homestay เงื่อนไขเหมือนนักเรียนภาษาอังกฤษ หากอยู่หอพักของวิทยาลัย - มหาวิทยาลัย ต้องทำตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบันซึ่งเขาจะส่งเอกสารมาให้ดำเนินการ
ค่าเรียนและค่าทีพัก จะชำระโดยโอนจากธนาคารในเมืองไทย ธนาคารใดก็ได้ที่สะดวก แต่ต้องสอบถามว่าสาขาใดที่สามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้ เข้าบัญชีของสถาบันโดยตรง ซึ่งทางสถาบันจะให้รายละเอียด ชื่อ บัญชี ชื่อธนาคาร และเบอร์บัญชี มาพร้อมกับเอกสารการตอบรับเข้าเรียน

ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักเรียน
(อาจรวมกับค่า Homestay ในกรณีที่ผู้ปกครองมั่นใจว่านักเรียนดูแลเองได้)

นักเรียนมัธยม
ควรให้ไม่เกิน 25 เหรียญต่ออาทิตย์ สูงสุดคือ 50 เหรียญ
นักเรียน ภาษาอังกฤษ และระดับอุดมศึกษา ควรให้ไม่เกิน 80 – 100 เหรียญต่ออาทิตย์ ถ้าอยู่เมืองเล็ก และควรให้ไม่เกิน 100 - 120 เหรียญต่ออาทิตย์ ถ้าอยู่ Auckland หรือ Christchurch

ในกรณีที่ผู้ปกครองขอให้โรงเรียนมัธยม เป็นผู้จ่ายเงินให้นักเรียนแทนตน ทางโรงเรียนจะแจ้งค่าใช้จ่ายส่วนตัว นักเรียนนี้มาพร้อมกับค่าเรียน และที่พัก ผู้ปกครองสามารถโอนชำระพร้อมกันหมดในคราวเดียว
ถ้าผู้ปกครองต้องการจ่าย Pocket money ให้นักเรียนโดยตรง วิธีที่ง่ายและประหยัดที่สุดคือ เปิดบัญชีออมทรัพย์ (ในชื่อของผู้ปกครอง) ที่ธนาคารกรุงเทพ หรือธนาคารกสิกรไทย และทำบัตร ATM ที่สามารถกดเบิกเงินได้ในต่างประเทศ ให้นักเรียนถือบัตร ATM ไป ส่วนผู้ปกครองถือสมุดฝากไว้ ทุกเดือนผู้ปกครองนำเงินเข้าบัญชี ตามจำนวนที่ตกลงกับนักเรียน

ภายใน 24 ช.ม.สามารถนำบัตร ATM ไปกดเงินสดออกจากเครื่อง ATM ได้ โดยจะเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 100 บาท (ธนาคารกสิกรไทย) บาท หรือ 75 บาท (ธนาคารกรุงเทพ)
ดังนั้นนักเรียนควรกดเดือนละ 1 ครั้ง แล้วนำเงินทั้งหมดไปใส่ไว้ใน บ/ช ออมทรัพย์ที่ทางโรงเรียนจะพาไปเปิดให้ที่ธนาคารในนิวซีแลนด์ และมีบัตร ATM สำหรับกดออกมาใช้ทีละน้อย ไม่ควรเก็บเงินสดไว้ที่ตัวเกิน 20 เหรียญ

การเตรียมวีซ่า นักเรียน

เอกสารขอวีซ่านักเรียนเตรียมดังนี้ 

1.     ใบสมัครวีซ่าที่กรอกรายละเอียด พร้อมติดรูปถ่ายสี ขนาด 2นิ้ว หรือ สูง 4.5 x กว้าง 3.5 ซม. จำนวน 2 รูป อายุไม่เกิน 6 เดือน ให้เรียบร้อยโปรดระบุเบอร์โทรศัพท์
ที่ติดต่อได้สะดวก และหากมีอีเมล์ กรุณาระบุในใบสมัคร และนักเรียนเซ็นชื่อในใบสมัครด้วย

2.     ค่าวีซ่านักเรียน 7,100 บาท (ท่านสามารถชำระค่าวีซ่าด้วยเงินสด บัตรเครดิตวีซ่า บัตรเครดิตมาสเตอร์ หรือแบงค์ดร๊าฟที่สั่งจ่าย " สถานทูตนิวซีแลนด์ ") จะไม่มีการคืนค่าวีซ่าไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น

3.     หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา ฉบับ และถ่ายหน้าวีซ่าที่เคยเดินทางไปทุกประเทศ (ในกรณีที่ต้องใช้หนังสือเดินทางในระหว่างที่ยื่นขอวีซ่า ให้ทำสำเนาและ
ทำการรับรองสำเนาอย่างถูกต้องฅยื่นแทนหนังสือเดินทางไปก่อน เมื่อได้วีซ่าแล้วจึงนำหนังสือเดินทางตัวจริงไปยื่น เพื่อรับวีซ่า)

4.     หนังสือตอบรับเข้าเรียน (Offer of Place)

5.     หนังสือรับรองที่พักในนิวซีแลนด์ (Accommodation Guarantee) ทางศูนย์ฯ เป็นผู้รวบรวมให้

6.     ใบเสร็จรับเงินค่าเรียนจากโรงเรียน

7.     ใบ Financial Undertaking ที่เซ็นโดยผู้ปกครอง หรือผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายให้ (ผู้ค้ำประกัน) การรับรองฐานะการเงินของผู้ปกครอง หรือผู้ออกค่าใช้จ่าย (ผู้ค้ำประกัน) ใช้สำเนาสมุดเงินฝาก หรือ บัญชีกระแสรายวันของผู้ค้ำประกัน ย้อนหลังอย่างน้อย เดือน นับจากเดือนที่ยื่นวีซ่า

1.     ในกรณีผู้ค้ำประกันมีตำแหน่ง หน้าที่ การงาน ต้องแนบจดหมายรับรองสถานภาพการทำงานของ ผู้ค้ำประกัน ระบุถึงรายได้ต่อปี (รวมโบนัส) ตำแหน่ง และอายุการทำงาน จดหมายนี้จะต้องออกโดย ผู้มีอำนาจ หรือฝ่ายบุคคลของบริษัท/ห้างร้านเท่านั้น โดยออกให้ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ยื่น วีซ่า

2.     ในกรณีผู้ค้ำประกันเป็นเจ้าของกิจการ/บริษัท/ห้างร้าน จะต้องมีหนังสือรับรองบริษัทออกให้ภายใน 3 เดือน หรือหลักฐานการจดทะเบียนที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเจ้าของกิจการ พร้อมหลักฐานการเงินบริษัท ซึ่งได้แก่ บัญชีเงินฝาก หรือกระแสรายวันของกิจการ/บริษัท/ห้างร้านนั้นๆ

8.     นักเรียนที่ไปเรียนภาษาไม่ถึง ปี ต้องแสดงใบเสร็จรับเงินค่าตั๋วเครื่องบินและ flight detail นักเรียนระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ไม่จำเป็นต้องแสดงใบเสร็จค่าตั๋วเครื่องบิน

9.     ใบแจ้งผลการเรียน และการเข้าเรียน จากโรงเรียน / มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ หรือเพิ่งจบการศึกษา

10. ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 17 ปีเดินทางโดยลำพัง หรือไม่ได้เดินทางพร้อมบิดาและมารดา จะต้องมีหนังสือจากบิดาและมารดาระบุว่าอนุญาตให้บุตรเดินทางได้ลำพัง

11. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน บิดา + มารดา (หรือผู้ปกครอง) + ผู้สมัคร

12. สำหรับผู้สมัครที่อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไปและต้องศึกษาต่อที่ประเทศนิวซีแลนด์เป็นเวลา 2 ปีขึ้นไป จะต้องยื่นรายงานการสอบประวัติอาชญากรรมที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน (ผลตรวจประวัติฯให้สำเนาไว้ด้วย) ตรวจประวัติอาชญากรรมได้ที่ กรมตำรวจ ถ. พระรามที่ ปทุมวัน กรุงเทพฯ ( ทางกรมมีแบบฟอร์ม  ควรทำล่วงหน้าเพราะต้องรอผลไม่ต่ำกว่า 1 อาทิตย์ (ไม่นับวันหยุดราชการ) กรุณาโทรสอบถามการเตรียมเอกสารที่กรมตำรวจ (02) 205-1000 , (02)205-1010 และ (02) 254-5610

13. หากท่านต้องการไปศึกษาที่ประเทศนิวซีแลนด์ เป็นเวลา ปีขึ้นไป จะต้องยื่นใบแสดงผลการตรวจร่างกายและฟิล์มเอ็กซ์แรย์ (Form Temporary Entry X-ray Certificate) ขอรับแบบฟอร์มได้ที่ แผนกวีซ่า หรือ พิมพ์จากเว็บไซท์ www.immigration.govt.nz การตรวจต้องตรวจจากโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับจากสถานทูตเท่านั้น ซึ่งได้แก่โรงพยาบาลดังนี้ 

กรุงเทพฯ

ร.พ.บำรุงราษฎร์ 
โทร.(02) 667-1000 (ไม่มีแบบฟอร์มเตรียมให้ ต้องเอาไปเอง)
ร.พ.สมิติเวช (สุขุมวิท)
โทร.(02)711- 8000 (มีแบบฟอร์มเตรียมไว้ให้)
ร.พ.บางกอกเนสซิ่งโฮม 
โทร.(02)632-0560 และ (02) 632-0550 (มีแบบฟอร์มเตรียมไว้ให้)

เชียงใหม่
Dr Vanachantra-Charas Clinic (คลีนิคหมอวรรณจันทร์ - จรัส)
Wattana-Niramon Clinic (วัฒนา - นิรมล คลีนิค)
Special Medical Service Centre (สถานบริการสุขภาพพิเศษ)

ขอนแก่น
Srinagarind Hospital (โรงพยาบาลศรีนครินทร์)
Khon Kaen Ram Hospital (โรงพยาบาลขอนแก่นราม)

ก่อนตรวจร่างกายควรสอบถามจากโรงพยาบาลก่อนว่าควรเตรียมตัวก่อนตรวจอย่างไร (ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า วัน หรือถ้าตรวจที่ร..สมิติเวช (สุขุมวิท 43) กรุงเทพฯ ใช้เวลาตรวจประมาณ 3 ชั่วโมง แล้วรอรับผลได้เลย ใบตรวจร่างกายจะต้องมีอายุไม่เกิน 90 วันนับตั้งแต่วันที่โรงพยาบาลออกผลให้)

(อนึ่งนักเรียนต้องจำวันยื่นผลตรวจร่างกายล่าสุดที่เคยยื่นสถานทูต มิฉะนั้นสถานทูตอาจให้นักเรียนไปตรวจใหม่)

หมายเหตุ 
กรณีที่นักเรียนเปลี่ยนโรงเรียน ให้นำสำเนาผลการเรียนโรงเรียนเดิมมาแสดงด้วย
เจ้าหน้าที่อาจจะขอดูเอกสารอย่างอื่นเพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณีไป
วีซ่าจะออกให้ครอบคลุมตามระยะเวลาที่จ่ายค่าเล่าเรียนแล้วเท่านั้น


หมายเหตุ 
กรณีที่นักเรียนเปลี่ยนโรงเรียน ให้นำสำเนาผลการเรียนโรงเรียนเดิมมาแสดงด้วย
เจ้าหน้าที่อาจจะขอดูเอกสารอย่างอื่นเพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณีไป
วีซ่าจะออกให้ครอบคลุมตามระยะเวลาที่จ่ายค่าเล่าเรียนแล้วเท่านั้น

การยื่นขอวีซ่า ยื่นขอวีซ่า เวลา 8.30-16.00 น. จันทร์ - ศุกร์ 
ท่านสามารถยื่นวีซ่าด้วยตนเอง หรือยื่นผ่านตัวแทน โดยจะยื่นที่
ศูนย์รับสมัครขอวีซ่าฯ

140-41 (19D) ITF Tower ชั้น 19 ถนนสีลม บางรัก กทม. 10500

โทรศัพท์ (66)2 2367138 เว็ปไซต์ www.ttsnzวีซ่า.com

ในการยื่นวีซ่าฯ ศูนย์รับใบสมัครฯจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการรับใบสมัครขอวีซ่าเป็นจำนวนเงิน 800 บาท ต่อใบสมัคร (วีซ่าทุกประเภท)

ระยะเวลาการพิจารณา
เจ้าหน้าที่จะออกวีซ่าให้ หากเอกสารครบถ้วน รวมทั้งผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามีการสัมภาษณ์) เป็นที่พอใจ ท่านจะได้รับผลวีซ่าประมาณ 7-14 วันทำการ (ไม่นับเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ)
ท่านสามารถรับใบสมัคร แบบฟอร์มตรวจร่างกาย ใบรับรองสถานภาพทางการเงินได้ด้วยตนเอง หรือพิมพ์ออกจาก www.immigration.govt.nz
ค่าไปรษณีย์ในการจัดส่งหนังสือเดินทาง ส่งแบบลงทะเบียนภายในประเทศ 50 บาท 

หลักฐานประกอบการพิจารณา ตรวจประวัติอาชญากรรม

1.     หนังสือเดินทาง พร้อมสำเนา ฉบับ
2.     บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา ฉบับ
3.     ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา ฉบับ
4.     หลักฐานทางทหาร (สด. หรือ สด.43 หรือหนังสือรับรองการเรียน รด. หลักสูตร ปี หรือ ปี สำหรับบุคคลอายุ 20 ปีขึ้นไป และสด.สำหรับบุคคลอายุ 17 - 19 ปี) พร้อมสำเนา ฉบับ
5.     ใบสำคัญการสมรส หรือใบสำคัญการหย่า (ถ้ามี) พร้อมสำเนา ฉบับ
6.     ใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล (ถ้ามี) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
7.     กรณีผู้ร้องขอเป็นผู้เยาว์ ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองจะต้องเดินทางมาให้การยินยอมด้วย
8.     รูปถ่าย ขนาด นิ้ว หรือ นิ้ว จำนวน รูป

กรณีผู้ร้องขอพำนักอยู่ต่างประเทศ
หลักฐานประกอบการพิจารณา

1.     สำเนาหนังสือเดินทาง
2.     รูปถ่าย ขนาด นิ้ว หรือ นิ้ว จำนวน รูป
3.     แผ่นพิมพ์ลายพิมพ์นิ้วมือ จำนวน แผ่น (โดยติดต่อพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่สถานที่ที่ผู้ร้องพำนักอยู่หรือสถานกงสุลไทย)

กรมตำรวจ เบอร์ติดต่อ (02)205-2605, (02)205-2108, (02)205-1000, (02)205-1010 และ (02)254-5610

 

ควรไปเรียนเมื่อไรดี

มักเป็นคำถามที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการหาคำตอบ ก่อนอื่นต้องอธิบายเพิ่มเติมเรื่องการแบ่งชั้นการเรียนของประเทศนิวซีแลนด์ว่าเป็นดังนี้

1.ชั้นอนุบาล อายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป
2.ชั้นประถม 1 – 6 (Year 1-6) อายุตั้งแต่ 5 ขวบ ถึง 10-11 ขวบ โรงเรียนเด็กวัยนี้เรียก Primary School
3.ชั้นมัธยม 1-2 (Year 7-8) อายุตั้งแต่ 11-13 ขวบ โรงเรียนเด็กวัยนี้เรียก Intermediate School




ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของนิวซีแลนด์เลยก็ว่าได้ที่มีโรงเรียนแยกเฉพาะสำหรับเด็กวัยนี้ เหตุผลคือเด็กวัยนี้เป็นวัยที่เด็กกำลังจะพัฒนาจากวัยเด็กเข้าสู่วัยรุ่น จะเป็นเด็กก็ไม่ใช่จะเป็นวัยรุ่นก็ไม่เชิง เด็กเองก็เริ่มมีความสับสนในบทบาทของตัวเองว่าจะวางตัวอย่างไรทั้งกับที่บ้านและสังคมภายนอก อีกทั้งเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่ไม่เท่ากันทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่นเด็กผู้หญิงส่วนมากมักมีพัฒนาการเร็วกว่าเด็กผู้ชาย บางคนรูปร่างเป็นสาวขึ้น ความคิดความอ่านเป็นผู้ใหญ่ขึ้น เด็กผู้ชายส่วนหนึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่เป็นผู้ใหญ่แต่จิตใจยังเป็นเด็กเหมือนเดิม อะไรต่างๆเหล่านี้ทำให้เด็กเองก็ทำตัวไม่ถูกที่จะรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้

การแยกชั้นนี้ออกมาเพื่อเด็กสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องมีแรงกดดันจากนักเรียนรุ่นน้อง
ที่เด็กกว่าและนักเรียนรุ่นพี่ที่โตกว่าซึ่งมักทำให้เด็กอยากมีพฤติกรรมเลียนแบบ หรือโดนล้อเลียนจากรุ่นพี่ๆ ใน 2ปีนี้
นอกจากเรื่องวิชาการแล้ว เด็กจะมีโอกาสเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตัวเองรวมทั้งการดูแลรักษาสุขอนามัย
ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังได้มีการเรียนรู้เรื่องการรับผิดชอบต่อการเรียนที่มากขึ้นเพื่อพร้อมที่จะเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา
ตอนกลางและตอนปลายต่อไป เรียนรู้มารยาทการเข้าสังคม การวางตัว เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา เรื่องยาเสพติด เรื่องการอนุรักษ์ต่างๆ โดยทางโรงเรียนจะมีการจัดกิจกรรมผสมผสานอย่างต่อเนื่อง

4. ชั้นมัธยม 3-7 (Year 9-13) Secondary School อายุตั้งแต่ 13-18 ปี  ชั้นนี้ยังแยกเป็น

  • มัธยมตอนกลาง ม. 3- ม. 4  (Year 9-Year 10)
  • มัธยมตอนปลาย ม.5 –ม. 6 และ ม. 7 (Year 11,12, และ 13)

    เมื่อเรียนจบชั้นประถม 5 หรือ 6 แล้วจึงไปเรียนต่อในชั้น Year 7 และ 8 ( เทียบได้กับ ม. 1 และ ม. 2 ของไทย ) เป็นเวลา 1.5 หรือ 2 ปี เด็กจะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างคล่องแคล่ว จนผู้ปกครองต้องประหลาดใจกับความก้าวหน้าในภาษาอังกฤษว่าเร็วและดีมากอย่างเกินคาด  มีผู้ปกครองบางท่านทำเรื่องขอลาไปเรียนที่นิวซีแลนด์ช่วงชั้นประถม 5 แล้วกลับมาเรียนชั้นประถม 6 ต่อ


    วิธีการนี้ก็สามารถประหยัดงบประมาณการเรียนให้ผู้ปกครองได้มาก เพราะไปเรียนเพื่อเอาภาษาอังกฤษเพียง 1-2 ปี  ลูกของเราก็จะเก่งภาษาอังกฤษล้ำหน้าเด็กไทยคนอื่นๆ และจะสนใจไปเรื่อยๆ เพราะโดยธรรมชาติแล้วเด็กทุกคนอยากเป็นคนเก่งและเป็นที่ยกย่อง ยอมรับทั้งนั้น  เมื่อเด็กเรียนได้ดีและเป็นที่ยอมรับแล้วเด็กจะรักการเรียนและไม่ออกนอกลู่นอกทางไปแสวงหาการยอมรับทางอื่นๆ ที่ผู้ปกครองไม่พึงปรารถนา  ก็เท่ากับว่าเราได้สร้างภูมิคุ้มกันอย่างดีให้กับลูกในระยะยาว


    ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่มักมีความรู้สึกว่า ลูกเรายังเด็กเกินไปต้องรอให้โตกว่านี้  จากประสบการณ์กว่า 10 ปี
    พบว่าเด็กที่ไปเรียนวัย 11-12 ปี ปรับตัวได้ดีกว่าเด็กที่ไปตอนช่วงอายุ 14-15  ประสบความสำเร็จด้านภาษาอังกฤษสูงในเวลาเพียง 1-2 ปีทุกคนและได้รับการปลูกฝังอุปนิสัยที่ดีติดตัวเป็นของแถมอีกด้วย
ชั้นที่เหมาะสมที่สุด

คือชั้น มัธยม1-2 ( Intermediate School) ทางนิวซีแลนด์นั้นมีข้อบังคับอยู่แล้วว่านักเรียนต่างชาติ ตัองมีอายุ 11 ขวบขึ้นไปจึงจะสามารถไปเรียนระยะยาวโดยไม่ต้องมีผู้ปกครองไปอยู่ด้วย  ซึ่งบังเอิญเหลือเกินที่มาตรงกับอายุที่เหมาะสมที่จะไปเรียนที่สุด โดยมีการวิจัยพฤติกรรมเด็กหลายแหล่งทั้งในและต่างประเทศ สนับสนุนว่าเด็กในวัย 11-12 ขวบ จะเป็นวัยที่โตพอที่จะดูแลช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว และมีใจเปิดกว้างที่จะเรียนสิ่งใหม่ๆในชีวิต มีการปรับตัวได้ดีกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเคย  วัยนี้จะเป็นช่วงสุดท้ายที่เราสามารถจะปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้เขาติดเป็นนิสัยประจำตัว เช่น การรู้จักแยกแยะผิดถูก ดีเลว การประหยัดและรู้คุณค่าของเงิน คุณค่าของการศึกษา รักการเล่นกีฬาเป็นประจำ การรู้จักปรับตัวเข้ากับผู้อื่น การอดทนและรอคอย มีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม และอีกมากมาย 




ที่สำคัญคือเด็กวัยนี้ยังเป็นวัยที่เหมาะที่สุดที่สามารถเรียนภาษาที่สองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นั่นคือวัยนี้เด็กมีศักยภาพเรียนรู้ได้ง่าย สามารถเข้าใจไวยากรณ์ พูดได้ชัดเจนและมีสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษาได้เลย  ถ้าอายุมากกว่านี้การเรียนภาษาที่สองจะยากขึ้นเรื่อยๆตามอายุที่เพิ่มขึ้น และจะไม่ได้สำเนียงแบบเจ้าของภาษาแล้ว

ถ้าต้องการให้ลูกไปเรียนในวัยนี้ก็ควรมีการวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ  โดยฝึกให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมาะสมกับวัย เช่นอาบน้ำ แต่งตัวเองได้ มีความรับผิดชอบเรื่องของตัวเองตามสมควร  เรียนในโรงเรียนไทยเหมาะที่สุดเพราะเด็กจะได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทยและความเป็นไทยไว้เป็นพื้นฐาน เราเป็นคนไทยภาษาไทยยังจำเป็นและมีความสำคัญมากที่ต้องรู้อย่างดี พูดได้อย่างเดียวนั้นไม่พอ และที่สำคัญภาษาไทยนั้นยากถ้าไม่เรียนตั้งแต่เด็ก  ให้เน้นเรื่องภาษาไทยการเขียน อ่าน ให้เข้มแข็งพยายามส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านตั้งแต่เด็กโดยซื้อหนังสือสนุกๆตามวัยให้อ่าน เด็กจะอยากรู้อยากเห็นและชอบซักถามอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ผู้ปกครองเพียงช่วยรักษาความอยากนี้ไว้ให้ติดเป็นนิสัย เมื่อเด็กรักการอ่านแล้วเด็กจะอยากอ่านเองโดยเราไม่ต้องยัดเยียดเลย การได้อ่านมากๆทำให้เด็กแตกฉานในเรื่องภาษาและไม่ลืม นิสัยรักการอ่านนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลต่อการเรียนภาษาที่สอง สาม และทุกเรื่องไปตลอดชีวิต

ไม่ต้องกังวลไปเน้นเรียนภาษาอังกฤษจนมากเกินไป  เรียนภาษาอังกฤษเท่าที่โรงเรียนสอนก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปเรียนเสริมพิเศษอะไรอีกเลย สิ่งที่ผู้ปกครองจะช่วยเสริมได้และมีประโยชน์มากคือให้เด็กดูหนังหรือการ์ตูนที่เหมาะสมตามวัยเป็นภาษาอังกฤษ ตรงนี้อาจจะยากถ้าไม่เริ่มทำตั้งแต่เล็กๆที่เด็กเริ่มดู  เพราะเด็กจะรู้สึกว่าดูไม่รู้เรื่องเพราะฟังไม่ออกและจะ
ปฎิเสธไม่ยอมดู และเลือกจะดูที่มีพากษ์ไทย  ที่จริงแล้วเด็กจะค่อยๆเรียนรู้แบบธรรมชาติและจะเข้าใจได้ในที่สุด เพราะหนังหรือการ์ตูนของเด็กนั้นเขาพยายามทำให้เข้าใจง่าย ศัพท์ง่ายๆอยู่แล้ว ผู้ปกครองต้องใจแข็งและใจเย็น  ถ้าทำได้ก็เท่ากับว่าการดูหนังหรือการ์ตูนของลูกจะได้ประโยชน์ถึงสองอย่างคือเด็กสนุกสนานผ่อนคลายและในขณะเดียวกันเป็น
การฝึกฟังภาษาอังกฤษที่ดีมากๆ พอถึงเวลาที่เด็กต้องสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษจะง่ายมากและเป็นธรรมชาติอย่างมาก
ในการเรียนรู้เพราะอย่างน้อยเด็กฟังรู้เรื่องบ้าง การพูดก็ง่ายขึ้นเพราะคุ้นหูมาแล้วภาษาอังกฤษบางเสียงถ้าไม่เคยฟังที่ถูกต้อง
จะทำให้ออกเสียงตามยากมากๆ หรือออกเสียงนั้นไม่ได้เลย

สรุปข้อดีของการไปเรียนในชั้น Intermediate Years ( Year 7-8 )


1. เด็กมีโอกาสได้อยู่กับผู้ปกครองนาน 10-12 ปี ได้มีโอกาสปลูกฝังเรื่องความรัก ความผูกพันใน
ครอบครัว หล่อหลอมความคิดและทัศนคติของผู้ปกครอง เรียนรู้และเข้าใจ มารยาท ขนบธรรมเนียมและประเพณีอันดีของคนไทยพอสมควรแล้ว

2. เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทยทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เป็นเวลานานเพียงพอที่จะเข้าใจอย่างแตกฉานและจะไม่ลืมภาษาไทยแม้ว่าจะไม่ได้กลับมาเรียนภาคภาษาไทยอีกเลย

3. เป็นช่วงอายุที่ยังไม่ติดเพื่อน ยังไม่มีพฤติกรรมตามกลุ่มเพื่อน ใจยังเปิดกว้างรับประสบการณ์ใหม่ปรับตัวได้เร็ว
และที่สำคัญเป็นช่วงอายุที่มีศักยภาพเรียนภาษาที่สองหรือสามได้ดีที่สุด

4. เป็นวัยที่ยังไม่สนใจเพศตรงข้าม ผู้ปกครองสบายใจได้ในเรื่องนี้ระหว่างที่ลูกอยู่ไกลตัว

5. ประหยัดงบประมาณการลงทุนเรื่องการศึกษาไปได้มาก โดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีลูกหลายคนเพราะสามารถเลือกไป
เรียนแค่ 1.5 – 2 ปี เท่านั้นแต่จะได้พื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดีมากและพอเพียง



6. เป็นการเพิ่มโอกาสให้ลูกได้เลือกเรียนมากถึง 3 แนวทาง คือกลับมาเรียนต่อในระบบไทย เรียนต่อในระบบสองภาษา หรือเรียนต่อในระบบนานาชาติ ไม่ว่าจะเลือกระบบไหนลูกก็จะเป็นนักเรียนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดีพอที่จะเลือกเรียนได้

7. การไปเรียนในวัยนี้ยังจะได้รับการปลูกฝังนิสัยประหยัด อดออม ไม่ฟุ้งเฟ้อ รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ปกครองมาสานต่อได้ง่าย

วัยที่เหมาะอีกวัยหนึ่งคือจบม. 3 แล้วค่อยไป ก็เป็นอีกช่วงอายุที่เหมาะและยังไม่ช้าเกินไป เพราะยังมีเวลาที่จะเรียนในนิวซีแลนด์อีก 3 – 4 ปี กว่าจะจบชั้นสูงสุด(ไม่ควรกระโดดข้ามชั้นมากแม้อายุจะถึง นอกจากนักเรียนจะเก่งมากจริงๆ) จึงมีเวลาพอเพียงที่จะสร้างพื้นฐานภาษาอังกฤษที่มั่นคงพอที่จะไปใช้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้


ข้อเท็จจริงที่ควรรู้คือ ถ้าตัดสินใจไปเรียนเมื่อจบม. 3 จะต้องเรียนให้จบอย่างน้อยมัธยม 6 (Year 12) ถ้าเข้าเรียนแล้วเปลี่ยนใจจะกลับมาในระบบไทยจะมีปัญหาว่า ต่อกันไม่ได้เพราะช่วงเวลาเปิดเทอมไม่ตรงกัน และต้องเสียเวลาเรียนซ้ำชั้น

การไปเรียนต่างประเทศนั้นต้องมีความพร้อมทั้งผู้ปกครองและนักเรียน ผู้ปกครองต้องเตรียมใจและควรช่วยลูกเตรียมตัวให้พร้อมด้วย

การเลือกโรงเรียนควรพิจารณาอะไรบ้าง
• อายุ – ความสามารถ – ความถนัดของนักเรียน 
• อุปนิสัยของนักเรียน และความประพฤติ       
• ความต้องการและความคาดหวังของผู้ปกครอง       
• งบประมาณที่ตั้งไว้

 

การเรียน – การสอนที่แตกต่างจากระบบไทย
เพราะชาวนิวซีแลนด์มีพื้นฐานความเชื่อว่าคนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โลกมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก การเรียนรู้ไม่ควรหยุดอยู่แค่เราสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย

ดังนั้นการเรียนจะเป็นการสอนหรือการกระตุ้นให้เรียนรู้ – หาความรู้ – ค้นคว้า เพื่อเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง        ต้องใช้ความคิดพิจารณาด้วยเหตุผล การเข้าห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือ ค้นคว้าเป็นเรื่องปกติของนักเรียนนิวซีแลนด์ ตั้งแต่ชั้น ป.1 ทั้งนี้เพื่อสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ และหาความรู้ด้วยตนเอง


อยู่ Homestay หรือ โรงเรียนประจำ (Boarding) อย่างไหนดี



ข้อดีของ Homestay :

1. บางคนรู้สึกอบอุ่นกว่า เหมือนอยู่กับครอบครัว สำหรับเด็กที่พูดน้อย ขี้อาย จะมี Homestay คอยชวนคุยมากกว่า2. มีห้องส่วนตัวของตัวเอง มีความเป็นสัดเป็นส่วนกว่า


ข้อเสียของ Homestay :

1)     อาจเข้ากันไม่ได้ – ไม่ถูกชะตา
2)     บางครอบครัวเข้มงวดมากไป หรือบางครอบครัวปล่อยตามใจเกินไปเด็กมีเวลาอิสระเสรีมากเกินไป และอาจใช้เวลาไม่ถูก เช่น ไม่ทำการบ้าน / ไม่อ่านหนังสือ
3)     มีโอกาสใช้เงินสิ้นเปลืองเพราะมีเวลาว่างมาก ก็จะเที่ยว – กิน นอกบ้านมากขึ้น
4)     อาหารอาจไม่ถูกปาก และไม่มีให้เลือกหลากหลาย
5)     บางคนรู้สึกอึดอัด เพราะรู้สึกว่าอยู่บ้านคนอื่น

ข้อดีของ Boarding :

1)      ทุกคนเป็นเจ้าของบ้านเท่าๆกัน สบายใจ ไม่อึดอัดเและรู้สึกว่าอยู่บ้านคนอื่น
2)      สร้างนิสัยในการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่น
3)      มีครูดูแลใกล้ชิด 24 ช.ม. มีเวลาทำการบ้าน (มีครูอยู่ด้วย) นอน ตื่น เป็นเวลา
4)      ได้สนิทสนมกับเพื่อนชาวนิวซีแลนด์ พัฒนาภาษาอังกฤษได้เร็ว
5)      มีกิจกรรม กีฬา หลังเลิกเรียน ทำให้แข็งแรง รูปร่างสูงใหญ่ ไม่เหงา
6)      โอกาสใช้เงินมีน้อย – ประหยัด

ข้อเสียของ Boarding :

1)      สำหรับนักเรียนที่ขี้อาย หรือปรับตัวเข้ากับคนอื่นยากอาจใช้เวลานาน ที่จะมีเพื่อน
2)      คนที่ไม่ชอบเล่นกีฬาเลย อาจรู้สึกเบื่อ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่เล่นกีฬาหลังเลิกเรียน


การรายงานผลการเรียน


โรงเรียนทุกแห่งจะมีการรายงานผลการเรียนต่อผู้ปกครองปีละ 2 ครั้ง คือ สิ้นเทอมที่ 2 และสิ้นเทอมที่ 4  บางโรงเรียนจะมีการรายงานอย่างคร่าว ๆ  สิ้นเทอม 1 และ 3 ด้วย  แต่อย่างไรก็ตามผู้ปกครอง
สามารถติดต่อสอบถามเรื่องการเรียนของบุตรธิดาได้ตลอดเวลาเมื่อมีความสงสัยการเลือกวิชา        

ชั้น Year 7 – 10 (ม.1 – ม.4) วิชาส่วนใหญ่เป็นวิชาบังคับทั้งหมด และเรียนเหมือน ๆ กันทุกคน ในชั้น Year 9 -10 (ม.3-4) จะมีวิชาเลือกเพิ่มเข้ามาเพื่อให้นักเรียนได้ทดลองเรียนดูว่าถนัด หรือชอบ หรือไม่ ถ้าชอบก็สามารถเลือกเรียนต่อในระดับสูงต่อไปได้ เช่น ดนตรี  คอมพิวเตอร์  ทำอาหาร  ตัดเย็บ  งานไม้  งานโลหะ  ศิลป  ภาษาต่างชาติ  การแสดง ฯลฯ   


ในชั้น Year 11 (ม.5) นักเรียนจะต้องเริ่มเลือกสาย ( วิทย์ – ศิลป์ , ศิลป์ – คณิต)  ประมาณปลายปีของ Year 10 ทางโรงเรียนจะให้นักเรียนเลือกวิชาที่จะเรียนใน Year 11 ไว้ล่วงหน้า ผู้ปกครองควรพูดคุยกับนักเรียน – ดูผลการเรียน – ปรึกษาศูนย์ฯ เพื่อเลือกวิชาก่อนเปิดเทอม Year 11 

นักเรียนที่ต้องการกลับมาเรียนปริญญาตรีในระบบ  International ที่เมืองไทย ต้องเรียนจบ Year 12 โดยมีข้อบังคับว่าต้องเรียนวิชาของชั้น Year 12 ให้ครบอย่างน้อย 5 วิชาและต้องสอบเก็บหน่วยกิตได้ไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต จึงสามารถเทียบวุฒิ ม.6 ได้ (โปรดดูรายละเอียดหลักเกณฑ์การเทียบวุฒ ม.6 ด้วย) ผู้ปกครองควรปรึกษาศูนย์ฯ และเช็คกับโรงเรียนให้แน่ใจว่าลงวิชาถูกต้องและครบถ้วน

ตั้งแต่ปลายปี Year 11   นักเรียนทุกคนควรมีแผนการเรียนถึงระดับปริญญาตรี

ควรสมัครเรียนเมื่อไร
โรงเรียนมัธยมในนิวซีแลนด์มี 4 เทอมต่อปี และโรงเรียนส่วนใหญ่สามารถรับนักเรียนเข้าเรียนได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่ดีและเหมาะที่สุดคือ ในช่วงเทอม 1 (ปลายมกราคม) และเทอม 2 (ปลายเมษายน)  ควรเริ่มสอบถามรายละเอียด/สมัครและเตรียมตัวล่วงหน้าเนิ่นๆจะดีที่สุด บางโรงเรียนมีที่จำกัดมากต้องจองที่ล่วงหน้านานๆ


จะได้อยู่ชั้นอะไร ?
ขั้นต้นจะดูอายุเป็นเกณฑ์และเมื่อไปแล้วจะมีการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษประกอบด้วยเนื่องจากเด็กนิวซีแลนด์เริ่มเรียนชั้นประถม 1 เมื่ออายุ 5 ขวบ (เด็กไทยเริ่ม 6-7 ขวบ) ดังนั้นเมื่อเด็กไทยไปเรียนจะได้อยู่ชั้นที่สูงกว่า 1 ปีเมื่อเทียบกับการเรียนที่เมืองไทย นั่นคือไม่เสียเวลาหรือโดนลดชั้น        

อย่างไรก็ตามไม่ควรเริ่มที่ชั้นสูงเกินไปแม้อายุจะถึงเกณฑ์  ต้องดูพื้นฐานความรู้เดิมและภาษาอังกฤษประกอบด้วย   ไม่เช่นนั้นพื้นฐานความรู้จะอ่อน  และได้คะแนนต่ำใน Year 12 ซึ่งจะทำให้เข้ามหาวิทยาลัยดีๆไม่ได้
เมื่อไม่รู้ภาษาอังกฤษจะเรียนได้หรือ

ทุกโรงเรียนจะมีครูที่จบด้านการสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก มาสอนให้นักเรียนที่เข้าใหม่เต็มวันประมาณ 1 เทอมแรก เด็กจะมีการพัฒนาทางการฟัง พูด อ่าน เขียน พอสมควร  จากนั้นจะให้เริ่มเข้าไปเรียนในวิชาจริง ๆ  โดยเริ่มที่วิชาง่าย ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษน้อยก่อน  เช่น คณิตศาสตร์  คอมพิวเตอร์  ดนตรี  พลศึกษา และค่อย ๆ เพิ่มจนครบวิชา ส่วนภาษาอังกฤษนั้นยังต้องเรียนอยู่เป็นวิชาบังคับวิชาหนึ่ง ดังนั้น  จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้เด็กเรียนภาษาอังกฤษก่อนตามสถาบันสอนภาษาอังกฤษเพราะโรงเรียนมีอยู่แล้ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่อย่างใด (รวมอยู่ในค่าเทอม)

ค่าใช้จ่ายแพงไหม
ถ้าเรียนในเมืองใหญ่โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 25,000 เหรียญ ถ้าอยู่เมืองขนาดกลางหรือเล็กจะถูกกว่าคือประมาณปีละ  23,000  เหรียญ  ถ้าเลือกโรงเรียนเอกชนค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณ 15,000-20,0000  เหรียญ


ความรู้เกี่ยวกับการสอบ IELTS (International English Language Testing System)

IELTS หรือ International English Language Testing System

IELTS
เป็นระบบการทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ ที่ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อใช้ประเมินความรู้ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษของผู้สมัครสอบที่ต้องการไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม หรือทำงาน โดยประเมินความสามารถเราผ่านการทดสอบ 4 ทักษะ ทั้งการฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด โดยการทดสอบการฟัง การอ่าน และการเขียนจะอยู่ในช่วงเช้า การทดสอบการพูด จะเป็นการสอบสัมภาษณ์รายบุคคลในช่วงบ่ายกับชาวต่างประเทศ

ข้อสอบการฟังจะเน้นการฟัง ส่วนข้อสอบการพูด จะเป็นการพูดเพื่อความเข้าใจเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันและการแสดงความเห็นได้อย่างถูกต้อง ในขณะที่ข้อสอบการอ่านและการเขียนจะเป็นสอบวัดประเมินผลเพื่อใช้เพื่อการศึกษาต่อ

ผลการสอบ
ผลสอบสามารถรับได้ภายใน 13 วัน หลังจากการสอบเสร็จสิ้น โดยใบรายงานผลสอบที่ได้รับจะระบุคะแนนรวมเฉลี่ยพร้อมคำอธิบายสั้น ๆ ถึงระดับคะแนนที่ได้รับ ซึ่งใบรายงานผลสอบมีผลใช้ได้เป็นเวลา 2 ปี

นักเรียนสามารถเลือกสอบได้ทั้งที่ประเทศนิวซีแลนด์และประเทศไทย หากนักเรียนต้องการสอบที่ประเทศนิวซีแลนด์ให้นักเรียนสอบถามครูผู้ดูแลนักเรียนต่างชาติว่าจะสามารถสอบได้ที่ไหน เมื่อไร และให้ครูช่วยสมัครสอบให้ด้วย หากนักเรียนต้องการสอบที่ประเทศไทย ก็สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริติช เคานซิล (British Council)
เลขที่ 254 ซอยจุฬาลงกรณ์ 64 สยามสแควร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02 652 5480-9           โทรสาร 02 253 5312
E-mail: educationuk@britishcouncil.or.th             Website: www.britishcouncil.or.th
หรือข้อมูลเพิ่มเติม www.ielts.org

 

 

       IELTS มีระดับคะแนนรวมตั้งแต่ 1-9
ผลคะแนนระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับ 1-9 นั้น จะสามารถบ่งบอกถึงความสามารถในการใช้ภาษาของผู้สอบ ยิ่งได้คะแนนสูงมากเท่าใด ก็แสดงให้เห็นว่าเรามีความสามารถในการใช้ภาษาที่สูง มีความเข้าใจและสามารถสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำถูกต้องใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา สถาบันต่าง ๆ จะพิจารณาผลคะแนนเหล่านี้ของเราว่าเหมาะสมที่จะเข้าไปศึกษาต่อในสถาบันของเขา หรือผู้เรียนมีความสามารถเพียงพอในการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอนได้หรือไม่

ระดับ

ความหมายของคะแนนในระดับต่างๆ

9

มีความสามารถในการใช้ภาษาดีเลิศ  สามารถใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่ว เหมาะสมถูกต้องแม่นยำ และมีความเข้าใจในภาษาดีเยี่ยม

8

มีความสามารถในการใช้ภาษาดีมาก สามารถใช้ภาษาได้ถูกต้องและคล่องแคล่ว แต่อาจมีข้อผิดพลาดและความไม่เหมาะสมบ้างบางคราวในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย สามารถถกปัญหาที่ซับซ้อนอย่างมีเหตุผลได้ดี

7

มีความสามารถในการใช้ภาษาดี สามารถใช้ภาษาได้ดีแต่ยังมีความผิดพลาดและเข้าใจผิดบ้างบางโอกาส  แต่โดยทั่วไปสามารถใช้ภาษาในลักษณะที่ซับซ้อนได้ดี และเข้าใจในการให้เหตุผลได้ดี

6

มีความสามารถในระดับใช้งานได้ มีความสามารถในการใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดและความไม่เหมาะสมในการใช้ภาษาบ้าง แต่ความสามรถสื่อสารและเข้าใจภาษาที่ซับซ้อนได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คุ้นเคย

5

สามารถใช้ภาษาในระดับปานกลาง สามารถใช้ภาษาได้บางส่วนและเข้าใจความหมายกว้างในสถานการณ์ส่วนใหญ่  แต่ยังมีข้อผิดพลาดบ่อย ๆ แต่ก็สามารถสื่อสารในระดับพื้นฐานในเรื่องที่ตนถนัดได้ดี

4

มีความสามารถในการสื่อสารจำกัด สามารถสื่อสารจำกัดเฉพาะเรื่องที่ตนคุ้นเคย มีปัญหาในการสื่อ สาร การเข้าใจและการแสดงออกทางความคิด  ไม่สามารถใช้ภาษาที่ซับซ้อนได้

3

มีความสามารถในการใช้ภาษาที่จำกัดมาก  รู้และเข้าใจความหมายกว้าง ๆ ในสถานการณ์ที่คุ้นเคยและมีการหยุดชะงักในการสื่อสารบ่อย

2

ไม่สามารถสื่อสารคำศัพท์ชั้นพื้นฐานได้  ไม่สามารถสื่อสารป็นเรื่องเป็นราวได้  พูดได้เป็นคำ ๆ เฉพาะคำศัพท์สั้น ๆ ที่คุ้นเคยเท่านั้น  มีปัญหาในการทำความเข้าใจภาษาพูดและภาษาเขียน

1

ใช้ภาษาไม่ได้เลย นอกจากคำศัพท์เพียงเล็กน้อย

 

 

 



แนวทางการทดสอบ (Your route through the test)

การฟัง (Listening)
ระยะเวลาในการสอบ : 30 นาที
ผู้สมัครสอบฟังเนื้อเรื่องจากเทปซึ่งจะเพิ่มความยากขึ้นเรื่อยๆ เนื้อเรื่องเหล่านี้ประกอบด้วยการสนทนาและบทพูด รวมทั้งความหลากหลายของการออกเสียง และสำเนียงท้องถิ่นปะปนกัน ผู้สมัครสอบจะได้ฟังเทปครั้งเดียวเท่านั้น แต่จะให้เวลาในการอ่านคำถามและเขียนคำตอบ

                                                                                                   

การอ่านเชิงวิชาการ (Academic Reading)
ระยะเวลาในการสอบ : 60 นาที
มีเรื่องที่จะต้องอ่าน 3 ตอน พร้อมด้วยคำถามที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ได้นำมาจากหนังสือ นิตยสาร วารสาร และหนังสือพิมพ์ ทุกเรื่องเขียนไว้สำหรับผู้อ่านที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในจำนวนนี้อย่างน้อยที่สุดจะมีเรื่องหนึ่งมีลักษณะเป็นเชิงอภิปราย

การอ่านเชิงการฝึกอบรมทั่วไป (General Training Reading)
ระยะเวลาในการสอบ : 60 นาที
เนื้อหาขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อสอบ ซึ่งคาดว่าผู้สมัครสอบจะพบในชีวิตประจำวันในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เนื้อหาเหล่านี้นำมาจากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ การโฆษณา คู่มือการสอนและหนังสือ เป็นการทดสอบความสามารถในการใช้ความเข้าฝจและการใช้ข้อมูลของผู้สมัครสอบ ข้อสอบจะมีข้อความยาวๆ ตอนหนึ่งซึ่งเป็นเชิงอรรถาธิบายมากกว่าเชิงอภิปราย

                                                                                                   

การเขียนเชิงวิชาการ (Academic Writing)
ระยะเวลาในการสอบ : 60 นาที
ในหัวข้อแรกให้ผู้สมัครสอบเขียนรายงานประมาณ 150 คำ ตามเนื้อหาในตารางหรือแผนภาพ แสดงความสามารถในการพรรณนารายละเอียดและอธิบายข้อมูล สำหรับหัวข้อที่สอง ให้ผู้สมัครสอบเขียนเรียงความสั้นๆ ประมาณ 250 คำ เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือตอบปัญหา ผู้สมัครสอบต้องแสดงความสามารถในการถกปัญหา แสดงความเห็นโต้แย้งอย่างมีเหตุผล โดยการถ่ายทอดความรู้สึกและใช้ลีลาการเขียนที่เหมาะสม

การเขียนเชิงฝึกอบรมทั่วไป (General Training Writing)
ระยะเวลาในการสอบ : 60 นาที
รูปแบบของข้อสอบนี้เหมือนกับรูปแบบการทดสอบเชิววิชาการ ในหัวข้อแรกต้องการให้ผู้สมัครสอบเขียนจดหมายเพื่อขอข้อมูลหรืออธิบายสถานการณ์ สำหรับหัวข้อที่สอง เป็นเรียงความสั้นๆ ประมาณ 250 คำ และเขียนแสดงความคิดเห็นหรือตอบปัญหาที่ให้ไว้ คาดว่าผู้สมัครสอบจะสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองและท้าทายความคิดเห็นอื่นๆ โดยการถ่ายทอดความรู้สึกและใช้ลีลาการเขียนที่เหมาะสม

                                                                                                   

การพูด (Speaking)
ระยะเวลาในการสอบ : 11-14 นาที
รูปแบบมาตรฐานการสอบพูดประกอบด้วย การสัมภาษณ์ปากเปล่าระหว่างผู้สมัครสอบกับอาจารย์ผู้ประเมินผลการสอบ มี 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
ส่วนที่ 1 ให้ผู้สมัครสอบตอบคำถามทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับตนเอง บ้าน/ ครอบครัว/ งานที่ทำ/ การเรียน สิ่งที่สนใจ และเรื่องต่างๆ ที่คุ้นเคย
ส่วนที่ 2 ผู้สมัครสอบจะได้บัตรที่มีหัวข้อและต้องพูดเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ
ส่วนที่ 3 อาจารย์ผู้ประเมินผลการสอบและผู้สมัครสอบคุยกันในประเด็นทั่วๆ ไป และต้องโยงให้เข้ากับหัวข้อที่ได้มาในส่วนที่ 2

 



ตัวอย่างผลสอบ IELTS


ความรู้เกี่ยวกับการสอบ TOEFL (Test of English as a Foreign Language)

TOEFL หรือ Test of English as a Foreign Language

TOEFL
เป็นระบบการทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ ที่ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อใช้ประเมินความรู้ความสามารถทางด้าน
TOEFL (Test of English as a Foreign Language) เป็นการสอบวัดความสามารถทางการใช้ภาษาของผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ สำหรับคนที่ต้องการจะไปเรียนต่อในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับการศึกษาปริญญาตรี โท เอก ต้องผ่านการสอบ TOEFL ทั้งหมด โดย TOEFL ถือว่าเป็นมาตรฐานการสอบระดับสากล ซึ่งผลการสอบได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยผลการสอบ TOEFL มีผลเพียง 2 ปีเท่านั้น

ความแตกต่างระหว่าง TOEFL iBT และ TOEFL PBT
รูปแบบของการสอบ TOEFL นั้น ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมามีรูปแบบการสอบอันได้แก่ Paper-based Test (PBT) ใช้ดินสอและกระดาษในการสอบ หรือการสอบในรูปแบบ Computer-based Teat (CBT) ที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำข้อสอบ และล่าสุดก็คือ Internet-based Test (iBT) การสอบออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาตั้งแต่ปี 2005
โดยในส่วนของศูนย์สอบต่างๆ ของประเทศไทยนั้น ที่กรุงเทพฯ ได้มีการเปลี่ยนระบบการสอบให้เป็น iBT ทุกแห่ง รวมถึงต่างจังหวัดอย่างนครปฐม สงขลา เชียงใหม่ ฯลฯ ที่ใช้ iBT กันแล้ว

TOEFL iBT: การสอบที่เน้นการสื่อสาร
TOEFL iBT ใช้วัดทักษะการฟัง การเขียน การพูด และการอ่าน ใช้เวลาในการสอบประมาณ 4 ชั่วโมง 30 นาที
เปิดสอบออนไลน์ 30-40 ครั้งต่อปี รูปแบบการสอบเป็น iBT คือ ต้องการวัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ซึ่งในแต่ละส่วนของการสอบมีการเชื่อมโยงข้อมูลกันทั้งหมด ซึ่งผู้เข้าสอบต้องใช้ความสามารถในการสรุปความและจับประเด็นมากขึ้นด้วย

การสมัครสอบ
การสมัครสอบ TOEFL มีข้อกำหนดว่าทุกคนจะต้องสมัครสอบโดยตรงผ่านทาง Education Testing Service-ETS และสามารถเลือกสถานที่สอบได้ตามศูนย์สอบต่าง ๆ ในประเทศไทย  โดยสามารถสมัครสอบได้หลายช่องทาง  ทั้งการสมัครผ่านทางโทรศัพท์หรือทางไปรษณีย์ แต่วิธีการสมัครอย่างรวดเร็วและประหยัดที่สุดคือ การสมัครสอบแบบออนไลน์ 
โดยสามารถดูรายละเอียดและทำการสมัครสอบได้ที่เว็บไซด์ www.ets.org/toefl  ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้คำแนะนำได้ละเอียดที่สุด อีกทั้งสามารถเข้าไปฝึกฝนการทำข้อสอบแบบออนไลน์ได้ที่ www.ets.org/toeflpractice

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันการศึกษานานาชาติ (IIE) ซึ่งเป็นศูนย์สอบแห่งหนึ่งในประเทศไทย เบอร์โทรศัพท์ 02 652 0653
 

โครงสร้างข้อสอบ TOEFL iBT
เกณฑ์การให้คะแนนของ TOEFL iBT พิจารณาตามความสามารถในแต่ละส่วนของทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยโครงสร้างข้อสอบมีดังนี้

Test Section

Content

Timing

Score

*Reading

กำหนดให้อ่าน 3-5 บทความ และตอบคำถาม 12-14 ข้อในแต่ละบทความ

  • บทความเน้นทางด้านวิชาการและคำถามเกี่ยวกับความเข้าใจและวิเคราะห์ตามบทความที่กำหนดให้อ่าน
  • สำหรับคำถามแบบใหม่ในระบบ iBT จะใกล้เคียงกับ CBT โดยผู้สอบจะต้องเลือกข้อความที่ถูกต้อง เติมคำให้สมบูรณ์ รวมทั้งการเข้าใจความหมายของคำศัพท์ได้

60-100 นาที

0-30

*Listening

กำหนดให้ฟังการบรรยาย 4-6 บท และตอบคำถาม 6 ข้อในแต่ละอัน นอกจากนี้ผู้เข้าสอบต้องฟังบทสนทนา 2-3 บท และตอบคำถาม 5 ข้อในแต่ละบทสนทนา

  • การจดเลกเซอร์/การบรรยายเน้นบรรยากาศภายในชั้นเรียน
  • บทสนทนาประกอบด้วยผู้ร่วมสนทนา 2 คน หรือมากกว่านั้นในแต่ละบท โดยผู้เข้าสอบต้องเข้าใจการสื่อความหมายของผู้พูด  และสามารถบันทึกย่อระหว่างฟังได้

60-90 นาที

0-30

 

 

___________________ BREAK____________________

10 นาที

 

Speaking

การทดสอบทักษะการพูดแบ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับความรู้และประสบการณ์ส่วนตัว อีกส่วนอ้างอิงจากข้อสอบ ส่วนการฟังและการอ่าน  ผู้สอบต้องใช้คำพูดที่ชัดเจนในการตอบ เลือกคำมาใช้ได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผลสนับสนุน

20 นาที

0-30

 

Writing

ประกอบด้วย Integrated task (20 นาที) และ Independent task (30 นาที) กล่าว คือการสอบส่วนนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนนี้ต้องเขียนตอบเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการอ่าน การฟัง การพูด และอีก ส่วนหัวข้อที่ต้องใช้ความรู้จากประสบการณ์ของผู้สอบโดยไม่เกี่ยวข้องกับการสอบในส่วนอื่น

50 นาที

0-30

 

รวมคะแนน

 

0-120

 

การเทียบวุฒิม.6
กลับมาเรียนต่อในไทยได้ไหม ?
นักเรียนที่เรียนจบชั้น Year 12 และสอบได้จำนวนเครดิตตามที่กระทรวงศึกษาธิการไทยกำหนด สามารถเทียบวุฒิ ม.6 และสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเมืองไทยได้ โดยในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาชั้นนำมากมายที่เปิดสอนในหลักสูตรนานาชาติ นักเรียนของเราจะได้รับเอกสารแนะนำมหาวิทยาลัยเมืองไทยที่เปิดรับสมัคร พร้อมแนะนำคณะและมหาวิทยาลัยที่น้องสามารถสมัครได้ ---- มี link เข้าหมวดส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ในหน้านักเรียนของเรา
14 เหตุผลดีๆ ของการเลือกเรียนต่อนิวซีแลนด์
  1. ปี 2009 นิวซีแลนด์ ได้รับเลือกเป็นประเทศที่สงบสุขมากที่สุดในโลก เป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตและน่าอยู่อันดับ 3 ของโลก (2011)  และเป็นประเทศที่มีคนมีการศึกษาและฉลาดที่สุดในโลก อับดับ 5 ของโลก
  2. นิวซีแลนด์ถูกจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ และมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สูงเทียบเท่ากับฟินแลนด์ (อันดับ1 ของโลก) ซึ่งสูงกว่าออสเตรเลีย, อังกฤษ, และอเมริกา
  3. มาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของการศึกษาของนิวซีแลนด์ในทุกระดับชั้นเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติทั่วโลก
  4. อัตรค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนถูกกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีมาตรฐานการศึกษาในระดับเดียวกัน เช่นออสเตรเลีย, อังกฤษ, และอเมริกา
  5. การสมัครเรียนสะดวกรวดเร็ว การขอวีซ่านักเรียนไม่ยุ่งยาก
  6. แนวการสอนของนิวซีแลนด์ไม่ได้สอนแบบท่องจำ แต่สอนแบบเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ความคิด วิเคราะห์
  7. การเดินทางสะดวกและไม่ไกลจากประเทศไทยมากนัก ใช้เวลาเดินทางเพียง 11 ช.ม.
  8. โรงเรียนในนิวซีแลนด์จะรับนักเรียน โดยพิจารณาอายุของนักเรียนประกอบ ดังนั้น นักเรียนไทยจะไม่ถูกลดชั้น
  9. เทอมการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของนิวซีแลนด์ แบ่งออกเป็น 4 เทอม นักเรียนสามารถเข้าเรียนได้ทุกเทอม โดยไม่ต้องรอจบปีการศึกษาของระบบไทย
  10. ในระดับชั้นมัธยมฯ มีวิชาทั่วไปและวิชาเฉพาะทางให้เลือกตามความถนัดจำนวนมาก มีการสอนภาษาอังกฤษเสริมภายใน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  11. วิชาเรียนชั้นมัธยมศึกษาในนิวซีแลนด์ สามารถใช้เทียบวุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยในเมืองไทยได้
  12. เหมาะแก่การเรียนภาษาอังกฤษ เพราะคนนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายอังกฤษ และเป็นมิตรกับชาวต่างชาติมาก สำเนียงภาษาอังกฤษชาวนิวซีแลนด์จึงใกล้เคียงกับชาวอังกฤษ
  13. มหาวิทยาลัยของนิวซีแลนด์ทุกแห่งมีมาตรฐานสูงมาก บางแห่งติดอันดับโลก
  14. นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่สงบ สะอาด สวยงาม มีกิจกรรมหลากหลายและปลอดภัย ทำให้มีสมาธิในการเรียน





กลับจากนิวซีแลนด์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยที่เมืองไทย ต้องสอบอะไรบ้าง



แต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดเกณฑ์การรับนักเรียนต่างกัน นักเรียนต้องศึกษาข้อมูลของคณะที่ต้องการจะเรียน และสอบตามที่กำหนด โดยส่วนใหญ่แล้วมหาวิทยาลัย หลักสูตรนานาชาติ จะตั้งเกณฑ์ขั้นต่ำในการวัดความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษ (English Proficiency) ไว้ ซึ่งเกณฑ์ที่นิยมสอบคือ TOEFL, IELTS, CU-GET ของจุฬาลงกรณ์ฯ, TU-TEP ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในบางคณะอาจจะต้องสอบการวัดทักษะเชิงวิเคราะห์ (Standardized Test) เช่น SAT, SMART I, CU-AAT หรืออาจต้องยื่นผลสอบวัดความถนัดเฉพาะทางด้วย นักเรียนของเราสามารถตรวจสอบรายละเอียดจากสกอลาร์ไกด์ได้

การโทรศัพท์ติดต่อกับประเทศนิวซีแลนด์ต้องทำอย่างไร



1. นักเรียนสามารถโทรศัพท์จากนิวซีแลนด์มาที่ประเทศไทย โดยกดรหัสการโทรออกต่างประเทศก่อนคือ 00 ตามด้วยรหัสประเทศไทย 66 ตามด้วยรหัสพื้นที่ของปลายทาง (กรุงเทพฯ คือ 2) ตามด้วยเบอร์ปลายทาง เช่น 
00 66 2 3456789 หรือโทรเข้ามือถือ 00 66 8 1234567

วิธีการโทร สามารถโทรได้หลายช่องทาง เช่น 

·   การซื้อบัตรโทรศัพท์ เป็นวิธีหนึ่งที่ประหยัด และได้รับความนิยม เพราะสามารถหาซื้อได้ง่าย และใช้งานง่าย เพียงแค่กดหมายเลขบนบัตร และทำตามวิธีที่บัตรแนะนำ เมื่อใช้หมดจำนวนเงิน ก็สามารถซื้อใบใหม่ได้ทันที

·  การใช้โทรศัพท์มือถือ นักเรียนสามารถใช้โทรศัพท์เดิมที่เมืองไทย แล้วไปซื้อซิมโทรศัพท์ของประเทศนิวซีแลนด์ใส่ เครือข่ายที่นิวซีแลนด์มี 2 ค่ายคือ Vodafone และ Telecom นักเรียนสามารถใช้บริการแบบเติมเงิน หรือลงทะเบียนกับเครือข่ายก็ได้ สำหรับนักเรียนที่ไปเรียน ไม่แนะนำให้ใช้โทรศัพท์ที่เมืองไทยแล้วเปิด roaming เพราะค่าโทรศัพท์จะแพงมาก

 

2. ผู้ปกครองสามารถโทรศัพท์จากประเทศไทยไปยังนิวซีแลนด์ โดยกดรหัสเครือข่ายที่โทร เช่น 001 / 008 / 009 แล้วตามด้วย รหัสประเทศนิวซีแลนด์ คือ 64 ตามด้วยรหัสของพื้นที่ภายใน ประเทศนิวซีแลนด์

Northland/Auckland – 09
Waikato/Bay of Plenty – 07
Central and southern North Island – 06
Wellington/Kapiti- 04
South Island and Stewart Island – 03

หมายเลขโทรศัพท์บ้านในนิวซีแลนด์ จะมี ตัว เช่น 64 3 xxx xxxx ส่วนหมายเลขโทรศัพท์มือถือมี 8 ตัว เช่น 64 2x xxx xxx

การโทรศัพท์ สามารถทำได้หลายช่องทางเช่นกันคือ

·  สามารถซื้อบัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีขายทั่วไป โดยทำตามคำแนะนำบนบัตร ก่อนโทรควรเทียบเวลาระหว่างไทย และนิวซีแลนด์ทุกครั้ง โดยไม่ควรโทรดึกจนเกินไป

·  โทรผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ เช่น 001 / 008 / 009 ฯลฯ


Scholar Guide : ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อ ประเทศนิวซีแลนด์ เรียนนิวซีแลนด์, ศึกษาต่อนิวซีแลนด์, เรียนต่อนิวซีแลนด์,แนะแนวเรียนต่อนิวซีแลนด์

image
image
image
image
image
image
image
image
image

 
Scholar Guide : ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อ ประเทศนิวซีแลนด์ เรียนนิวซีแลนด์, ศึกษาต่อนิวซีแลนด์, เรียนต่อนิวซีแลนด์,แนะแนวเรียนต่อนิวซีแลนด์

คุณราตรี ผู้ปกครองน้องชินิฐวัฒน์ และ ชนัฐวิทย์ เปเรร่า
Central Southland High School
ตอนแรกคุณแม่คาดหวังว่าลูกทั้งสองคนจะได้แค่พัฒนาภาษา แต่สิ่งที่ได้มามันมากกว่าที่คาดหวัง ลูกมีพัฒนาการด้านสังคม การปรับตัว มีความรับผิดชอบ มีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้น จากการได้พูดคุยกับลูกๆ และสำคัญที่สุด ลูกมีความสุขกับการที่ได้อยู่ที่นิวซีแลนด์มาก ทั้งโฮสต์ เพื่อนและคุณครูคอยดูแลและให้ความอบอุ่น มิตรภาพสวยงามไม่แพ้ทิวทัศน์ของนิวซีแลนด์เลย
คุณพรรณทิพา ผู้ปกครองน้องอิทธิกร ฤทธิ์ทรงศักดิ์
James Hargest College
น้องชอบมากค่ะ แต่ละรูปที่น้องส่งมาให้จะเป็นรูปที่น้องยิ้มกว้าง ถ่ายกับเพื่อนๆอย่างมีความสุข น้องประทับใจในโรงเรียน คุณครูให้ความเข้าใจและไม่กดดันเค้า ครอบครัวที่ไปอยู่ด้วยก็ใจดี เอาใจใส่ ส่วนเพื่อนๆก็ให้ความเป็นมิตรและเป็นกันเองมาก 
กนิษฐกานต์ อินทร์อ๋อง (ฝ้าย)
Christchurch Girls' High School
พรหม กาญจนพันธุ์วงศ์ (Lotte)
Kaikorai Valley College
คุณเฉกชนก - กษณา สุนทรศารทูล ผู้ปกครองน้องจุลเฉก
Waitaki Boys' High School
สกอลาร์ ไกด์ ให้บริการได้อย่างดีเยี่ยม สม่ำเสมอ เหมือนมีคนรู้จักที่ไว้ใจได้คอยแนะนำและดูแลลูกเราอีกแรงหนึ่ง คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการที่เราไม่ต้องมาเสียเวลาหาโรงเรียนที่ถูกใจ ไม่ต้องลองผิดลองถูก ไม่ต้องมากังวลเรื่องเอกสาร การติดต่อกับทางโรงเรียน เพิ่มเติม
แพรวพรรณ พันธุ์แมน (แพรว)
St.Peter's School
หนูไปนิวซีแลนด์ครั้งแรกกับซัมเมอร์ คอร์ส ของสกอลาร์ ไกด์  ครั้งนั้นหนูได้พัฒนาภาษาอังกฤษ มีความสุขและสนุกมาก
ถาวร อุตมะวณิชย์
Bachelor of Computing Systems จาก EIT
ผมเรียนจบที่นิวซีแลนด์แล้ว และทำงานเป็น programmer ให้กับ Universal software การทำงานที่นิวซีแลนด์เป็นอีกก้าวหนึ่งที่ผมภูมิใจ ผมได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆมากมาย ผมคิดว่าการตัดสินใจของผมเป็นสิ่งที่ดีสุด ผมขอขอบคุณ สกอลาร์ ไกด์ ที่แนะนำให้ผม มาเรียนที่นี่ และดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบการศึกษา
กุลนันท์ ชโลธร (ลูกตาล)
Sacred Heart Girls' College
อรจิรา แหลมวิไล (แป้ง)
Hamilton Girls High School
บรรยากาศการเรียนการสอนที่นิวซีแลนด์ ทำให้แป้งรู้ว่าชีวิตคนเราไม่ได้มีแต่ตัวหนังสือ เพราะศิลปะ กิจกรรม กีฬา การปฏิบัติ ทัศนศีกษา หรือการทดลองต่างๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน ที่นู่นมีภาษาให้เลือกเรียนเยอะ หรือใครจะอยากเรียนทำกับข้าว เย็บผ้า เศรษฐศาสตร์ ก็จะได้เรียนตามที่เราชอบ เพิ่มเติม
จิตรานุช นภาวรรณ (Fern)
Bethlehem College
คุณทิพย์ส่องธาร – คุณณาณชลกฤต วัฒนาธร ผู้ปกครองน้อง ภาณุสาคร-น้องปราบต์ชลกร
Burnside High School /St Peter’s School
ขอขอบคุณ สกอลาร์ ไกด์ มากๆค่ะ สำหรับความเข้าใจ คำแนะนำและเอาใจใส่ดูแลลูกชายของเราเป็นอย่างดี  ดีใจที่มีสกอลาร์ไกด์ เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของลูกในครั้งนี้
คุณนลิน กาญจนพันธุ์วงศ์ ผู้ปกครองน้องพรหม-น้องกฤษณ์
Kaikorai Valley College
คิดถูกแล้วค่ะที่เลือกนิวซีแลนด์ ทั้งสวยและปลอดภัย ค่าใช้จ่ายกำลังพอดี ลูกชายใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเรียนและเล่นกีฬาค่ะ ขอบคุณ สกอลาร์ ไกด์ และพี่ๆทีมงาน ที่ประทับใจที่สุดคือความจริงใจและดูแลเอาใจใส่เหมือนคนในครอบครัว
 
ธนพัฒน์ ศรีประเสริฐ (ปั้น)
Mountain View School
ฐนันท์ พลูเกษ (Bambam)
Bethlehem College

 

Scholar Guide : ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อ ประเทศนิวซีแลนด์ เรียนนิวซีแลนด์, ศึกษาต่อนิวซีแลนด์, เรียนต่อนิวซีแลนด์,แนะแนวเรียนต่อนิวซีแลนด์