เรียนในสถาบันเทคโนโลยี ( Institute of Technology), สถาบันโพลีเทคนิค(Polytechnic)
Polytechnic คือสถาบันอุดมศึกษาที่จัดตั้งและได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากรัฐบาลบางแห่งอาจเรียกว่า INSTITUTE OF TECHNOLOGY หรือ COMMUNITY POLYTECHNICS 25 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ
|
นอกจากนี้ยังมีสถาบันของเอกชนที่เปิดสอนหลักสูตรมากมายไม่ต่างจากของรัฐบาลเพียงแต่ของเอกชนจะใช้คำว่า
Institute of Studies เช่น Auckland Institute of Studies
POLYTECHNICS มีสาขาวิชาให้เลือกกว่า 150 สาขา ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ เปิดสอนทั้งหลักสูตรระยะสั้น ประกาศนียบัตรและหลายแห่งเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีในบางสาขา เช่น สถาปัตยกรรม บัญชี การออกแบบ เทคโนโลยี ธุรกิจ พาณิชย์ และ สื่อสารมวลชน ระยะเวลาในการศึกษา 1-4 ปี แล้วแต่หลักสูตร |
บางแห่งเปิดหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยในสาขาธุรกิจ วิทยาศาสตร์ พยาบาล และอื่นๆ ซึ่งหมายถึงนักเรียนอาจเรียนชั้นปีที่ 1 หรือในบางกรณีปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยที่ POLYTECHNIC ได้ นักเรียนอาจเข้าเรียนหลักสูตร DIPLOMA ที่ POLYTECHNIC ซึ่งใช้เวลาเรียน
2 ปี เมื่อจบแล้วอาจเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ซึ่งหากนักเรียนตั้งใจเรียนก็จะใช้เวลาอีกประมาณ 2 ปี นอกจากนี้ โพลีเทคนิคยังมีการอบรมหลักสูตรสั้นๆ (Short Courses) และหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษอีกด้วย
ภาษาอังกฤษ
สำหรับนักเรียนต่างชาติที่พื้นฐานภาษาอังกฤษยังไม่ดีพอ ต้องเริ่มเรียนที่ภาษาอังกฤษก่อน จนกระทั่งเข้าเกณฑ์ที่จะเรียน
ในหลักสูตรจริงได้ จะเรียนนานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานภาษาอังกฤษเดิมของนักเรียน สำหรับนักเรียนไทยควรสมัคร
6 เดือนก่อนแล้วค่อยต่ออีก ถ้าความรู้ภาษาอังกฤษยังไม่ดีพอ
หลักสูตรปรับพื้นฐาน(Foundation Programme)
สำหรับนักเรียนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษดีพอ แต่พื้นฐานการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามีไม่ครบหรือไม่ดีพอ สถาบันฯ จะให้เรียนปรับพื้นฐานก่อนหลักสูตร 6 เดือน-1 ปี
ประกาศนียบัตร (Certificate)
หลักสูตร 3 เดือน-1 ปี เป็นการปูพื้นฐานความรู้ในสาขาที่เรียนเพื่อออกไปทำงานหรือเรียนต่อในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (Diploma)
นักเรียนไทยที่จบม. 6 และมีพื้นฐานภาษาอังกฤษประมาณ IELTS 5.0-5.5 สามารถเริ่มเรียนในระดับนี้ได้
ประกาศนียบัตรชั้นสูง(Diploma) หลักสูตร 2 ปี เป็นการเรียนเจาะลึกโดยละเอียดต่อจากหลักสูตรประกาศนียบัตร(Certificate) นักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้ส่วนหนึ่งมักเลือกที่จะทำงานเพื่อเก็บเงินและสะสมประสบการณ์ บางส่วนเรียนต่อในระดับปริญญาตรี บางส่วนโอนหน่วยกิตไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย โดยใช้เวลาอีก 2-2.5ปี
นักเรียนที่จบ Year 12ในนิวซีแลนด์ และมีผลการเรียนปานกลางขึ้นไป สามารถเข้าเรียนในระดับนี้ได้เลย ส่วนนักเรียนไทยที่จบ ม. 6 และมีพื้นฐานภาษาอังกฤษระดับ IELTS 5.5-6.0 สามารถเข้าเรียนได้เช่นกัน
การสมัครเข้า POLYTECHNICS
นักเรียนที่จบ Form 6 ของนิวซีแลนด์ สามารถเข้าเรียนต่อ POLYTECHNIC ได้ หรือหากจบ Form 7 แล้วเข้าเรียนก็สามารถโอนหน่วยกิตได้
คุณสมบัติของผุ้สมัครจากประเทศไทย
- อายุ 18 ปีขึ้นไป
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เกรดเฉลี่ย (GPA) 2-2.5
- สอบ TOEFL ได้คะแนนอย่างต่ำ 500 หรือ IELTS 6.0
- สำหรับหลักสูตรระยะสั้นต่างๆ ก็จะกำหนดคุณสมบัตินักเรียนที่จะสมัครเข้าเรียนแตกต่างกัน
ปีการศึกษา
เริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์และสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม โดยมีวันหยุดแตกต่างกันตามแต่หลักสูตร
(ส่วนใหญ่เป็นเดือนพฤษภาคม และสิงหาคม) ช่วงปิดเทอมใหญ่คือเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
เปิดรับนักเรียนใหม่ในช่วงต้นปีการศึกษาคือเดือนกุมภาพันธ์ แต่บางหลักสูตร จะรับนักเรียนใหม่ในช่วงกลางปีคือ
เดือนกรกฎาคมด้วย
หลักสูตรภาษาอังกฤษ เปิดรับตลอดปี
มักมีคนตั้งคำถามว่าคนที่เรียนสถาบันเทคโนโลยีหรือโพลเทคนิคคือคนที่เข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ใช่ไหม แล้วถ้าจบจากสถาบันเหล่านี้แล้วจะเป็นที่ยอมรับหรือเปล่า คนไทยเรามีแนวคิดการเลือกเรียนแตกต่างจากชาวตะวันตกค่อนข้างมากจึงเกิดความกังวลและมีคำถามเช่นนี้
ชาวตะวันตกไม่ได้ใช้การศึกษาเป็นตัวกำหนดความสามารถของคน หรือแบ่งแยกว่าใครเก่งหรือไม่เก่ง แต่ระบบการศึกษานั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คนได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นและสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆในการทำงาน
ฉะนั้นหลักสูตรในสถาบันเหล่านี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแท้จริง
ดังนั้นคำตอบของคำถามข้างต้นคือ นักเรียนมาเรียนในสถาบันเหล่านี้เพราะต่างมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ (ลองถามตัวเองว่าคุณอยู่ในกลุ่มไหน)
1 เพื่อทำงาน
2 เพื่อเป็นบันไดเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
3 เพื่อหาอาชีพใหม่
4 เพื่อเพิ่มความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน
เรียนเพื่อทำงาน
นักเรียนนิวซีแลนด์เมื่อจบชั้น Year 12 แล้วเขาจะเลือกเส้นทางเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาคือ คนที่มุ่งจะเข้ามหาวิทยาลัยก็จะต้องเรียนต่อ Year 13 อีก 1 ปี
ส่วนคนที่อยากทำงานได้เร็วและมีอาชีพที่ชอบอยู่ในใจแล้ว มักจะมุ่งเข้าเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีหรือโพลีเทคนิค เพราะหลักสูตรของสถาบันเหล่านี้เป็นเหมือนขั้นบันได คือทุกปีที่เรียนนักศึกษาจะได้รับวุฒิบัตร (ขั้นสูงขึ้นทุกปี) เพื่อนำไปเป็นวุฒิทำงานประกอบอาชีพได้ เพราะฉะนั้นนักศึกษาเรียนเพียง 3 เดือน- 1 ปี ก็มีวุฒิบัตรออกไปหางานทำได้แล้ว ได้เก็บเงินและประสบการณ์สักพักแล้วค่อยกลับมาเรียนต่อให้สูงขึ้นทีหลังก็ได้
ในขณะที่มหาวิทยาลัยต้องใช้เวลาเรียนติดต่อกันถึง 3-4 ปี กว่าจะได้วุฒิการศึกษาออกมาทำงานได้ และถ้าเรียนครึ่งๆกลางๆ ก็จะเสียเวลาเปล่าโดยไม่ได้วุฒิการศึกษาอะไรเลย
นักศึกษานิวซีแลนด์นั้นส่วนใหญ่ต้องส่งเสียตัวเองเรียนหรือผู้ปกครองออกให้เพียงบางส่วน เพราะสังคมชาวตะวันตกนั้นถือว่าคนอายุ 18 ปี ขึ้นไปเป็นผู้ใหญ่และสามารถรับผิดชอบตัวเองได้ เลือกอนาคตตัวเองได้ เรียนตามความชอบ ความถนัด
นอกจากนี้รัฐบาลนิวซีแลนด์มีกองทุนให้กู้ยืมเรียนก่อน แล้วผ่อนใช้ทีหลังเมื่อทำงานได้
ค่าเรียนในสถาบันเหล่านี้ถูกกว่าในมหาวิทยาลัยด้วย การเรียนการสอนมีมาตรฐานสูงเทียบเท่ามหาวิทยาลัยและเป็นที่ยอมรับของมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ซึ่งรับโอนหน่วย
กิตจากสถาบันเหล่านี้เพื่อไปศึกษาต่อระดับ ป. ตรี โท เอก ชาวนิวซีแลนด์จึงนิยมเรียนในสถาบันเหล่านี้ก่อน มากกว่าที่จะมุ่งเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มต้นเพียงอย่างเดียว
เรียนเพื่อเป็นบันไดเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
หลังจากที่นักศึกษาเรียนได้วุฒิประกาศนียบัตรชั้นสูง (Diploma) ซึ่งใช้เวลา 2 ปี สามารถโอนหน่วยกิตเพื่อไปเรียนต่อ ป. ตรี
ในมหาวิทยาลัยได้ โดยจะใช้เวลาอีก 2-2.5 ปี แล้วแต่จำนวนหน่วยกิตที่โอนได้ วิธีนี้เหมาะกับนักเรียนต่างชาติมากเพราะ
- ค่าเรียนที่สถาบันเหล่านี้ถูกกว่ามหาวิทยาลัย ได้ประหยัดเงิน จ่ายถูกกว่าใน 2 ปีแรก
- คะแนน IELTS ที่จะเข้าเรียนระดับ Diploma ต่ำกว่าที่จะเข้าเรียนระดับ ป. ตรี จึงสามารถเริ่มเรียนได้เร็วกว่า ไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษนาน
- ระยะเวลา 2 ปี ที่เรียนที่สถาบันเหล่านี้ เท่ากับเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อไปเรียนในมหาวิทยาลัยได้อย่างราบรื่น ทั้งด้านการใช้ภาษาอังกฤษ
- ความรู้พื้นฐานในสาขาที่จะเรียน รวมทั้งเทคนิควิธีการเรียน การค้นหาข้อมูล การแบ่งเวลาการเรียน-เล่น การทำรายงานในระดับมหาวิทยาลัย
- มีจำนวนนักศึกษาต่อห้องเรียนน้อยกว่าในมหาวิทยาลัย ทำให้มีโอกาสใกล้ชิดกับอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนๆที่เรียนด้วยกัน
- สถาบันเหล่านี้จะมีหน่วยงานที่สนับสนุนและช่วยเหลือนักศึกษาต่างชาติในด้านต่างๆมากมาย เช่น นัดติวพิเศษ แนะนำการเขียนรายงาน อบรมเรื่อง Computer
- มีที่ปรึกษาทั้งเรื่องเรียนและเรื่องส่วนตัว
- การเรียนในสถาบันเหล่านี้ แต่ละปีนักศึกษาจะได้รับวุฒิบัตร ซึ่งเป็นวุฒิที่สูงขึ้นทุกปี นำไปใช้หางานทำได้ตั้งแต่ปีแรก ไม่ต้องเรียนถึง 4 ปี จึงจะได้วุฒิบัตร
เรียนเพื่อหาอาชีพใหม่
|
บางคนเรียนจบ ป. ตรี แล้วและทำงานเป็นครูมานานเกิดเบื่อและรู้สึกว่าไม่ชอบอาชีพครู เพิ่งรู้ตัวว่าชอบทำอาหาร จึงไปเรียนด้านการทำอาหาร ( Diploma in Professional Cooking ) ตอนนี้เป็นพ่อครัว ( Chef) อยู่ที่โรงแรมระดับ 5 ดาว หรือบางคนจบทางด้านบริหารธุรกิจมา แต่มารู้ตัวว่าชอบทางด้านศิลปะการออกแบบ ก็สามารถเรียนหลักสูตรดีไซน์และเปลี่ยนมาทำงานด้านศิลปะตามที่ชอบ
นั่นคือไม่ว่าจะจบด้านไหนมา ทำงานอะไรมาก่อน ทุกคนสมัครเข้าเรียนในสถาบันเหล่านี้ได้เสมอ มีข้อแม้อย่างเดียวคือต้องมีอายุ 18 ปี ขึ้นไป |
เรียนเพื่อเพิ่มเติมความรู้เฉพาะด้าน
ความรู้เพียงด้านเดียว บางทีไปทำงานจะรู้ว่าไม่เพียงพอที่จะทำให้ก้าวหน้าได้ เช่น นักกฎหมายด้านธุรกิจ ควรมีความรู้ทางด้านบัญชี / ธุรกิจ ควบคู่ไปด้วย ก็สามารถไปสมัครเรียนหลักสูตรบัญชี / ธุรกิจได้ หรือบางคนเรียนจบทางด้านวิศวกรรม พอทำงานในระดับบริหาร จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านบริหารธุรกิจ-การจัดการ ก็สามารถเรียนเพิ่มเติมได้
ยังมีบางสาขาวิชาที่ไม่มีการสอนในระดับปริญญาตรี แต่สอนเป็นหลักสูตรระยะสั้น 6 เดือน - 2 ปี ในสถาบันเหล่านี้ เช่น
การบริหาร-จัดงาน Event ต่างๆ (Event Management) การอัดเสียง ธุรกิจทำไวน์ การดูแลเด็กเล็ก (Child Care ) การดูแลผู้สูงอายุ
( Retire Home ) การทำอาหารมืออาชีพ ( Chef ) ช่างภาพมืออาชีพ
คุณภาพและการยอมรับ
จะเห็นได้ว่า สถาบันเทคโนโลยีหรือโพลีเทคนิค นั้นตั้งขึ้นมาเพื่อเปิดทางเลือกที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้เลือกเรียน เพื่อพัฒนาตัวเองและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตจริงอย่างแท้จริง ซึ่งทางเลือกบางอย่างในสถาบันเหล่านี้ไม่มีในมหาวิทยาลัย
มาตรฐานการสอนของสถาบันเหล่านี้ไม่ต่างไปจากการเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะกว่าที่นักศึกษาจะจบการศึกษาโดยมีวุฒิบัตรรับรองนั้นต้องผ่านการสอบ การทำงานวิจัย การทำโปรเจคกลุ่ม หรือการฝึกงาน ที่ได้ผลเป็นที่แน่ใจว่านักศึกษาคนนั้น มีความรู้ความสามารถออกไปทำงานได้จริง หากนักศึกษาไม่สามารถทำคะแนนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด พวกเขาก็จะไม่สามารถจบการศึกษาได้
ผู้ที่จบการการศึกษาจากสถาบันเหล่านี้เป็นที่ยอมรับเท่าเทียมกับจบจากมหาวิทยาลัยโดยบางสาขาวิชาเป็นที่ยอมรับมากกว่าจบจากมหาวิทยาลัยเสียอีก เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ การท่องเที่ยวและการโรงแรม คอมพิวเตอร์ดีไซน์
ชาวตะวันตกมองว่า อาชีพทุกอาชีพมีความสำคัญและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน จะทำงานในอาชีพไหนก็ตาม ต้องมีความรู้จริง เชี่ยวชาญ รักและภูมิใจในอาชีพนั้นและทำอย่างดีที่สุด ไม่ว่าคุณจะเป็นช่างทาสี ผู้ดูแลผู้สูงอายุ นักบัญชี วิศวกรหรือพ่อครัว คุณก็ต้องทำงานอย่างมืออาชีพ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่ชี้ว่าคุณเป็นคนมีความสามารถ และเมื่องานออกมาดี ก็ถือว่าคุณประสบความสำเร็จในอาชีพนั้น
1 Aoraki Polytechnic ( www.aoraki-international.co.nz )
2 Bay of Plenty Polytechnic ( www.boppoly.ac.nz )
3 Christchurch Polytechnic Institute of Technology (CPIT) (www.cpit.ac.nz )
4 Eastern Institute of Technology (EIT) (www.eit.ac.nz )
5 Manukau Institute of Technology (MIT) (www.mit.ac.nz )
6 Nelson Marlborough Institute of Technology (NMIT) (www.nmit.ac.nz )
7 Northland Institute of Technology (NIT) ( www.northland.ac.nz )
8 Otago Polytechnic ( www.tekotago.ac.nz )
9 Southern Institute of Technology (SIT) (www.sit.ac.nz )
10 Tai Poutini polytechnic ( www.taipoutini.ac.nz )
11 Tairawhiti Polytechnic (www.tairawhiti.ac.nz )
12 Telford Rural Polytechnic ( www.telford.ac.nz )
13 The Open Polytechnic ( www.topnz.ac.nz )
14 Universal Colleges of Learning (UCOL) ( www.ucol.ac.nz )
15 Unitec Institute of Technology ( www.unitec.ac.nz )
16 Waiariki Institute of technology ( www.waiariki.ac.nz )
17 Waikato Institute of Technology (WINTEC) ( www.wintec.ac.nz )
18 Wellington Institute of technology (WELTEC) ( www.weltec.ac.nz )
19 Western Institute of Technology (WITT) ( www.witt.ac.nz )
20 Whitireia Institute of Technology ( www.whitireia.ac.nz )
|